แชร์เก็บไว้เลย..25 กระท่อมเถียงนา สวยบาดใจยิ่งนัก..สวรรค์บนดิน ที่คนเมืองโคตรอิจฉา

นี่คือ 25 อภิมหาโคตระเถียงนา ที่ถือว่าสวยบาดตาบาดใจ ดูทีไรน้ำตาจะไหลทุกที ขึ้นชื่อว่าเถียงนา นับได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยคู่กับ ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนไทยมาช้านาน คิดถึงสมัยเมื่อครั้งตอนเด็ก ที่เคยได้นอนอยู่เถียงนาน้อยตามประสาลูกชาวนาไทย วันนี้จะพาไปชมภาพ 25 กระท่อมเถียงนา ที่ได้ชื่อว่า สวยงามที่สุดในสยามครับ ถ้าถูกใจ ชอบใจ เถียงหลังไหน ก็กดไลค์กดแชร์ได้นะครับ ช้าอยู่ใย ไปดูกันเลยว่าเถียงนาที่คัดมานี้ จะสวยขนาดไหน ลำดับที่ 1. กระท่อมน้อยกลางไพร ลำดับที่ 2....

ฉันไม่ได้บ้า แค่กล้าออกมาทำตามความฝัน กับเกษตรพอเพียง 180 ตารางวา

เป็นเรื่องราวจาก สมาชิกพันทิป : https://pantip.com/topic/35206093 ที่กล้าออกมาทำตามความฝันของตัวเอง กับเกษตรแบบพอเพียง ในพื้นที่เพียง 180 ตารางวาเท่านั้น ดูเป็นแรงบันดาลใจสำหรับใครที่กำลังอยากจะทำตามความฝันของตัวเองบ้าง จั่วหัวเรื่องแบบเปิดประเด็นแบบนี้ แปลว่ามันต้องมีที่มาที่ไปแน่นอน ให้คนลองพิจารณาเอาเองแล้วกัน ว่าเราบ้าอย่างที่เขาว่ากันหรือเปล่า มาเริ่มเรื่องเลยดีกว่าค่ะ ตอนแรกเรากับสามีก็เป็นคนปกติ ที่ไปทำงานในบริษัทเหมือนคนอื่นๆเป็นบริษัทรับทำคลังสินค้าและขนส่งขนาดใหญ่ มีหลายสาขา ชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษสามตัว ขึ้นต้นด้วยตัว D (แบบว่าเดายากมากเลย) เราเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์แผนกขนส่ง ส่วนแฟนเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์แผนกปฏิบัติการ คนปกติจะเข้างานแปดโมงเช้า...

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ “เกษตรทฤษฎีใหม่”

เกษตรทฤษฎีใหม่ บทสรุปของ เกษตรอินทรีย์ เกษตรพอเพียง ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ ๑๕ ไร่ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเหมาะสม ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้มีรายได้ใว้ใช้จ่ายและมีอาหารใว้บริโภคตลอดปี (กรมวิชาการ, ๒๕๓๙: ๗๗) ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน...

สวนบนหลังคา ปลูกผัก ทำนาสวนกินได้บนอาคาร บนชั้นดาดฟ้า

เหตุใดเมื่ออยากทานอาหารต้องออกไปซื้อที่ตลาด? หากปลูกทานเองพอจะทำได้ไหม และหากไม่มีพื้นที่ปลูกพืชผัก แปลงนาข้าวกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรหรือโรงงานไปเสียหมด ชีวิตจะเป็นอย่างไร ? คำถามเหล่านี้อาจดูไกลตัว ณ จุดนี้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าสักวันหนึ่งซึ่งเป็นอนาคตที่ใกล้กว่าที่คิดไว้มาก สิ่งเหล่านี้อาจจะมาถึงก็เป็นได้ หากไม่มีการจัดการการใช้ที่ดินที่ดีพอ เหมือนอย่างในประเทศจีนที่ทำเกษตรกรรมมาตั้งแต่สมัยปู่ยาตายาย แต่ระยะหลังพื้นที่ปลูกพืชผักลดลงจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ประสบภัยธรรมชาติ และการขยายตัวของเมือง ที่ดินถูกกว้านซื้อไปทำโรงงานและบ้าน ที่ดินดี ๆ ผืนใหญ่ทำการเกษตรเริ่มหายากขึ้นเรื่อย ๆ...

โครงการตามพระราชดำริของในหลวง “โครงการชั่งหัวมัน” ที่นี่มีอะไร มาดูกันครับ

โครงการตามพระราชดำริ ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๑ หมู่ ๕ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕๐ ไร่ ในหลวงท่านทรงซื้อที่ดินจากราษฏร ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เดิมทีมีสภาพเสื่อมโทรมและกันดาร เนื่องจากเจ้าของเดิมปลูกยูคาฯไว้ตัดขาย ในหลวงท่านทรงมีพระราชดำริให้ใช้พื้นที่นี้ จัดทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี 2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร 3....

บนพื้นที่แค่ 1 ไร่ สามารถทำได้ 6 แสน ต่อปี “สวนพออยู่พอกิน บ้านมายิ้ม”

ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นองค์ความรู้ที่สามารถทำได้จริง ทำได้อย่างยั่งยืน และทำได้อย่างไม่ยากเกินไปนัก อย่าง ลุงประทีป มายิ้ม เกษตรกรเจ้าของ ศูนย์การเรียนรู้ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สวนพออยู่พอกิน บ้านมายิ้ม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ที่ปัจจุบันเป็นเจ้าของที่ดินเพียง 1 ไร่ แต่ปีๆ หนึ่งทำงานได้หลายแสน ด้วยการยึดหลักการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มที่ ดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน และพึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ โดยพื้นที่ 1 ไร่ของคุณลุงประทีปนั้นแบ่งออกเป็น...

ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ทำสวนผสม ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา จนกลายเป็นรายได้หลักอีกทางหนึ่ง

หากเอ่ยชื่อ จินตนา ไพบูลย์ หรือ “ป้านุ้ย” สาวใหญ่วัย 50 ปี แห่งบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ในแวดวงเกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมพรคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเธอถือเป็นผู้หญิงแถวหน้า ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที ที่เคยฝากผลงานด้านเกษตรกรรมผสมผสาน รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อมให้ชาวชุมพรและบุคคลทั่วไปได้รู้จักมาแล้วมากมาย ป้านุ้ย เป็นชาวชุมพรที่เกิดในครอบครัวชาวสวนแห่งหมู่บ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เธอจึงเติบโตมากับพืชผัก ผลไม้ แทบทุกชนิดที่พ่อแม่ปลูกไว้กินและขายเป็นรายได้หลักของครอบครัว ปัจจุบันป้านุ้ยมีพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 30...

“คู่รัก” ออกจากงาน มาเลี้ยงไก่ไข่ “สร้างรายได้งดงาม”

นายพงศกร พลบูรณ์ อายุ 27 ปี และนางสาวนุชจรีภรณ์ ศรีสมบัติ อายุ 27 ชาวบ้านเหมืองแพร่ อ.นาแห้ว จ.เลย สองหนุ่มสาวหันเหชีวิตทำงานที่กรมป่าไม้และสวนป่านาปอ อ.นาแห้ว จ.เลย ที่ตัวเองรัก หลังช่วยและให้ความรู้แก่ชาวบ้านมานานแล้ว มาสร้างอนาคตทำสวนทำไร่ผสมผสาน เลี้ยงไก่ไข่ 500 ตัว ตามเศรษฐกิจพอเพียงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ร.9 จนประสบความสำเร็จ...

กรมพัฒนาที่ดิน “ขุดบ่อจิ่วฟรี” ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 45,000 บ่อ

กรมพัฒนาที่ดิน พร้อมก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน "บ่อจิ๋ว" ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 45,000 บ่อ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ ทำการเกษตรในช่วงแล้ง ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดอย่างโปร่งใส เป็นธรรม วัตถุประสงค์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ กรมพัฒนาที่ดินจัดทำโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน โดยการขุดสระน้ำในไร่นา ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่าย 2,500 บาท/บ่อ โดยมีวัตถุประสงค์...

“จิกซอความฝัน” กับเกษตรพอเพียง แห่งบ้านปันสุขเพชรบุรีรมย์โฮมสเตย์

เชื่อว่าการอยู่แบบพอเพียง การทำเกษตพอเพียงใช้ชีวิตอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกมากนั่งเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะวัยทำงานหรือในยามเข้าสู้วัยเกษตรก็ตาม วันนี้เรามีอีกหนึ่งตัวอย่างการทำตามความฝันของตัวเองของคุณสมพร แดงประดับ เจ้าของ บ้านปันสุขเพชรบุรีรมย์โฮมสเตย์ กับสโลแกน "นุ่งผ้าถุง ใส่ผ้าขาวม้า จุดเตาถ่าน อาบน้ำโอ่ง กางมุ้งนอน" ข้อความโดยเจ้าของได้กล่าวไว้ "วันนนี้ได้เอนกายนอนเล่นยามเย็น นอนฟังเสียงนกร้อง นั่งมองนกบินกลับรัง ได้นั่งมองแปลงผัก ได้นั่งมองบ้านที่เราสร้าง ได้นั่งมองปลาในน้ำ ได้นั่งมองต้นไม้ที่เราปลูก ได้นั่งมองเป็ดไก่...

เรื่องที่กำลังน่าสนใจ

เนื้อหาที่คุณอาจสนใจ